Friday, October 29, 2010

บึงชีขัน

ภายในพระนครตอนหน้าพระราชวังด้านใต้มีบึงใหญ่ บึงตอนเหนือเรียกว่า บึงญี่ขัน ตอนใต้เรียกว่า บึงพระราม เห็นว่าชื่อทั้ง ๒ นี้คงจะเป็นชื่อเพี้ยนชื่อหนึ่ง ชื่อใหม่ชื่อหนึ่ง ที่เรียกว่า บึงญี่ขัน นั้นคงจะเป็น ชีขัน ซึ่งมีชื่อมาในกฎมณเฑียรบาลอีกชื่อหนึ่ง ที่เรียกว่า บึงพระราม นั้นก็คือเป็นบึงในบริเวณชีขันนั้นเอง แต่อยู่ตรงหน้าวัดพระราม แต่เดิมมาบางทีจะเรียกตอนนั้นว่า บึงหน้าวัดพระราม เพราะประสงค์จะให้เข้าใจที่ให้ง่ายขึ้น ภายหลังมาก็เรียกห้วนเข้าแต่ว่าบึงพระราม ทิ้งคำว่า หน้าวัด เสีย จึงเลยเป็นชื่อของบึงนั้นว่า บึงพระราม ต่อมา
บึงชีขันนี้พิเคราะห์ดู เห็นว่าเดิมจะเป็นหนองเป็นที่มีน้ำขังอยู่แล้ว หรือจะคิดให้สูงขึ้นไปจะว่าเป็นตัว "หนองโสน" ตามที่มีชื่อมาในพระราชพงศาวดารจะได้ดอกกระมัง แต่ไม่มีพะยานหลักฐานอะไรนอกจากลองนึกเดา บึงนี้เดิมทีก็จะเล็ก ต่อมาเมื่อสร้างกรุง คงจะขุดเอาดินในที่แถวนี้ขึ้นถมเป็นพื้นวังและพื้นวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม จึงกลายเป็นใหญ่โตไป ดินที่เว้นไว้เป็นทางคนขนมูลดินเดิน ก็เลยทำเป็นถนนรีถนนขวางข้ามบึงปูอิฐตะแคงเสียทั้ง ๓ สาย เจาะช่องสำหรับให้เรือเดินไปมาได้ถึงกันตลอดบึง ตามหลังช่องนั้นคิดดูเห็นจะมีสะพานไม้ สำหรับให้คนเดินไปมาตามถนนได้ตลอด และมีทางน้ำที่จะเอาเรือนอกพระนครเข้าไปในบึงได้ ๒ ทาง ด้านใต้คลองประตูจีน คลองประตูเทพหมี คลองฉะไกรน้อย มารวมกันเข้าที่ข้างวัดสะพานนาคทางหนึ่ง ด้านตะวันออกเข้าช่องแยกจากคลองประตูข้าวเปลือก ข้างวัดมหาธาตุทางหนึ่งในบึงมีวัดอยู่ตามเกาะหลายวัด และตึกดินก็อยู่บนเกาะในบึงนี้ด้วย
ที่ขอบบึงตรงหน้าวัดพระรามออกไปมีตึก หลังหนึ่งเป็นตึกสองชั้น ตามช่องประตูหน้าต่างก่อเป็นโค้งคูหา มีทางขึ้นข้างหน้าและข้างๆตึก ตึกนี้ชาวบ้านบางคนว่าเป็นตึกพระราชาคณะผู้ครองอาวาสวัดพระราม แต่พิเคราะห์ดูเห็นจะไม่ใช่ของสำหรับวัด เพราะอยู่นอกกำแพงวัดเเละเป็นตึกสูง น่าจะเป็นพระที่นั่งสำหรับเสด็จขึ้นไปประทับทอดพระเนตรเรือ ซึ่งจะโปรดให้มีประชุมเล่นเพลงสักวาในคราวนักขัตฤกษ์ฤดูน้ำบ้างในบางปี

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

สะพานในเมือง

ตามข้างคลองเหล่านี้ ในที่ใดถ้ามีถนนผ่านมา ก็มีสะพานข้ามคลองทุกสาย ถ้าเป็นถนนใหญ่ก็เป็นสะพานเชิง ๒ ข้างก่ออิฐ กลางเห็นจะปูกระดาน เช่น สะพานป่าถ่าน สะพานชีกุน สะพานข้ามคลองในไก่ สะพานหน้าวัดบรมพุทธาราม สะพานรำเพย(เห็นจะเป็นสะพานหน้าหับเผย เพราะถนนนั้นมาหน้าคุก) แต่บางสะพาน เช่น สะพานประตูจีน สะพานประตูเทพหมีนั้น ก่ออิฐตลอด กลางคลองเจาะเป็นช่องโค้งคูหา กลางใหญ่ ๒ ข้างเล็ก เป็น ๓ ช่อง สำหรับให้เรือลอดไปมาได้ และยังมีอีกสะพานหนึ่งซึ่งว่าเป็นสะพานใหญ่ในพระนคร คือสะพานช้างต่อถนนป่ามะพร้าวข้ามคลองประตูข้าวเปลือก ตรงหน้าวัดพลับพลาชัย สะพานนี้เชิงก่อด้วยแลง และเมื่อครั้งพระนารายณ์เสด็จส่งพระเป็นเจ้า ว่าพวกวังหลังแอบซุ่มจะคอยทำร้ายในที่นี้ กับคราวเมื่อพระบรมโกศรบกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าบรเมศร์ ขุนศรีคงยศ พวกเจ้าฟ้าอภัยตั้งค่ายปิดเชิงสะพานฝั่งตะวันตกไว้ จะไม่ให้พวกวังหน้าข้ามไปได้ กับอีกสะพานหนึ่งซึ่งมีชื่อมีชื่อแปลกกว่าสะพานเหล่านี้ เป็นสะพานข้ามคลองท่อเข้ามาในวังตอนข้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตยาสน์ แต่เยื้องออกไปข้างเหนือ เรียกว่า สะพานสายโซ่ เชิง ๒ ข้างก่ออิฐ ตัวสะพานจะเป็นอย่างไรตำราไม่ได้กล่าวไปถึง แต่ลองคิดดูน่าจะเป็นสะพานหกได้ดอกกระมัง เพราะสะพานหกก็ใช้สายโซ่ และเห็นเข้าทีที่ว่าเป็นสะพานเข้าใกล้วัง ถ้าทำเป็นสะพานช้างตายตัวและมีเหตุการณ์ขึ้น สัตรูจะข้ามเข้าประชิดวังได้ง่าย ถ้าเป็นสะพานหกเปิดได้แล้ว ถึงจะเกิดสัตรูและถ้ารู้ล่วงหน้าก็จะชักสะพานนั้นออกเสีย ไม่ให้เป็นทางเดินเข้ามาประชิดวังได้ แต่สะพานข้ามคลองอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมานี้ เห็นจะเป็นสะพานไม้ เพราะไม่ได้พบรากอิฐที่เชิงสองข้างนั้น

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ป้อมตามกำแพงเมือง

ตามแนวกำแพงมีป้อมเป็นระยะรอบพระนคร ตามที่ตรวจพบแล้วในเวลานี้มี ๑๖ ป้อม เข้าใจว่าจะมีมากกว่านี้ แต่ไม่มีเวลาพอที่จะขุดค้นได้ตลอด ภายหลังเมื่อตรวจตราได้ความอย่างไร จะได้เพิ่มเติมต่อไป ป้อมรนั้นถ้าอยู่ในที่สำคัญ เช่นตรงแม่น้ำหรือทางร่วม ก็เป็นป้อมใหญ่ก่ออย่างแข็งแรง แต่ป้อมเดหล่านี้ยังเหลือพอที่จะเห็นซวดทรงสัณฐานได้ ๒ แห้งคือ ป้อมเพ็ชรแห่งหนึ่ง เป็นป้อมใหญ่ก่อสำหรับป้องกันข้าศึกที่จะมาทางน้ำตรงมุมพระนครด้านใต้ ป้อมนี้ก่อยื่นออกไปจากแนวกำแพงหนา ๓ วามีเศษ กลางป้อมเป็นพื้นดินว่าง มีบันไดอิฐขึ้นเทิงเชินในป้อม ตามเหลี่ยมป้อมที่พื้นดินมีประตูคูหาก่อเป็นรูปโค้ง มีรอยติดบานที่จะใช้เปิดปิดเข้าออกได้ คูหากว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก บนหลังคูหามีช่องกลวงตลอดขึ้นไปถึงเชิงเทินกับป้อมริมประตูข้าวเปลือกอีก แห่งหนึ่ง เป็นป้อมคู่ตั้งอยู่ ๒ ฟากคลอง แต่เล็กกว่าป้อมเพ็ชร ก่อย่อเหลี่ยมเข้าเป็นท่าบรรจบกัน บนป้อมเป็นพื้นอิฐ ตลอดตามเหลี่ยมป้อมมีประตูคูหาโค้งเหมือนป้อมเพ็ชร เข้าใจว่าเมื่อมีข้าศึกมาติดพระนคร คงจะลากปืนใหญ่ออกตั้งยิงป้องกันตามช่องคูหา แต่ถ้าเมื่อเห็นจะเสียท่วงที ก็คงลากถอยปืนใหญ่ไปในป้อมเอาไม้แก่นปักลงในช่องว่างเป็นระเนียดปิดช่องคูหา กันหน้าบานประตู ส่วนบนป้อมก็คงจะตั้งปืนใหญ่ได้ ด้วยมีที่กว้าง

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

Wednesday, October 27, 2010

ขยายกำแพงเมืองด้านตะวันออก

กำแพงเดิมก่อนแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ด้านเหนือตั้งแต่หน้าพระราชวัง คงจะไปตามแนวถนนป่ามะพร้าวแล้วไปเลี้ยวมรามุมใต้ประตูหอรัตนชัย วกลงไปข้างในห่างจากถนนรอบกรุงเดี๋ยวนี้ถึงป้อมเพ็ชร แต่ป้อมเพ็ชรมาตามทางริมน้ำทิศใต้ทิศตะวันตกบรรจบ ทิศเหนือจดคลองท่อ ที่ซึ่งเป็นวังจันทรเกษมเดี๋ยวนี้อยู่นอกพระนคร จะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง และเหตุที่กำแพงเดิมอยู่หังวังจันทร์เกษมห่างจากแม่น้ำเดี๋ยวนี้เข้าไปมาก นั้น ก็เห็นจะเป็นด้วยครั้งแรกสร้างกรุงที่แถวนั้นจะเป็นหาดทรายและลำลาบลุ่มมาก เพราะในเวลานี้เมื่อขุดดินลงไปลึกสักศอกเศษ ก็พบพื้นล่างเป็นทราย ครั้นมาภายหลังที่ดอนขึ้น ชานพระนครกว้างออกไป จึงได้สร้างพะเนียดที่จับช้างขึ้นระหว่างวังจันทร์เกษม กับที่ซึ่งเป็นวัดขุนแสนวัดซองเดี๋ยวนี้ และบางทีก็จะได้ใช้เป็นที่ทอดปล่อยเลี้ยงช้างหลวงด้วย ครั้นมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เกิดศึกหงสาวดีติดพระนคร คงจะทรงเห็นว่า การที่ไว้ชานพระนครกว้าง ปล่อยให้กำแพงกับคูห่างกัน ย่อมเป็นทางให้ข้าศึกข้ามคูเข้ามาถึงกำแพงได้ง่าย เพราะไกลทางปืน จึงโปรดให้ขยายกำแพงพระนครออกไปตั้งถึงขอบริมน้ำ แต่ครั้งนั้นเห็นจะยังไม่แล้วเสร็จมาเมื่อจุลศักราช ๙๒๔ ปี ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา จึงปรากฏว่าได้ทำกำแพงอีกคราวหนึ่ง ก็เห็นจะทำเพิ่มเติมกำแพงที่ค้างมาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นเอง กำแพงใหม่ตอนที่ยกออกมานี้ แยกจากกำแพงเก่าที่ท่าสิบเบี้ย วงเอาวัดราชประดิษฐานและที่ซึ่งภายหลังเป็นวัดขุนแสน วังจันทร์เกษมไว้ข้างใน แล้ววกลงไปบรรจบป้อมเพ็ชร ซึ่งเป็นถนนรอบกรุงที่ใช้เดินกันไปมาอยู่ทุกวันนี้ ส่วนกำแพงเดิมที่อยู่ภายในหลังวังจันทร์เกษมเข้าไปคงจะรื้อปราบลงเป็นถนนใน พระนคร คงเป็นถนนป่ามะพร้าวข้างวัดพลับพลาชัยแน่

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

กำแพงพระนคร

กำแพงพระนครในชั้นแรกสร้างกรุงเห็นจะยังไม่ได้ก่อด้วยอิฐ เข้าใจว่าจะเป็นแต่เชิงเทินดิน ใช้ขุดดินทางริมน้ำกับข้างใยขึ้นถม คูที่ขุดเอาดินขึ้นมาทางข้างในกำแพงเดี๋ยวนี้ยังปรากฏอยู่ กำแพงอิฐจะมาก่อขึ้นต่อหลัง เพราะรากกำแพงอิฐที่พบในเวลานี้อยู่บนเชิงเทินดิน สูงกว่าระดับดินธรรมดาตั้งแต่วาหนึ่งถึง ๖ ศอก ตัวเชิงเทินดินที่เป็นพื้น ตั้งกำแพงกว้างอย่างน้อยราว ๘ วา กำแพงหนา ๒ วาเศษ ก่ออิฐ ๒ ข้างไว้ช่องกลางถมดินกับอิฐหัก ส่วนสูงตั้งแต่เชิงกำแพงถึงปลายใบเสมา คะเนว่าบางแห่งถ้าในที่ต่ำคงจะราว ๓ วา ถ้าที่สูงคงจะราว ๑๐ ศอกเศษ เพราะพบเศษกำแพงที่เหลือจากรื้ออยู่ที่วัดท่าทรายแห่งหนึ่ง สูงจากพื้นดิน ๙ ศอกเศษเกือบคืบ กับที่ใต้วัดจีนเยื้องหน้าวัดสุวรรณมีประตูช่องกุฏอยู่ด้วยอีกแห่งหนึ่ง ตรงนั้นเป็นที่ดอนกำแพงสูง ๖ ศอกคืบมีเศษ ที่คิดว่ากำแพงตอนนั้นสูงเท่านี้ก็เพราะด้วยกำแพงที่เหลืออยู่นั้น สูงพ้นหลังประตูช่องกุฏขึ้นไปอีกศอกเศษ ซึ่งคะเนว่าเกือบจะถึงที่ตั้งใบเสมา เพราะธรรมดาประตูช่องกุฏก็อยู่ไล่เลี่ยหรือต่ำกว่าพื้นเชิงเทินำปเพียงนิด น้อย พ้นเชิงเทินขึ้นไปไม่กี่มากน้อยก็ถึงที่ตั้งเสมา กับได้ขุดพบเสมากำแพงเมืองยังเป็นรูปดีอยู่เสมาหนึ่ง กว้างศอกคืบ หนา ๒ ศอก สูง ๒ ศิกคืบ ถ้าเอาส่วนของใบเสมาบวกเข้ากับกำแพงตรงวัดท่าทราย ก็คงได้ราว ๓ วา กำแพงใต้วัดจีนราว ๑๐ ศอก ถึงจะยิ่งหย่อนกว่านี้ไปบ้างก็ไม่สู้มากนัก แต่ถ้าคิดเอาส่วนสูงของกำแพง ตั้งแต่ระดับดินไปจนขาดปลายเสมา คงจะสูงเสล ๔ วาทั้งหมด แนวกำแพงพระนครวัดได้ ๓๑๐ เส้น ในเมืองวัดตามกว้างในที่คอดได้ ๔๐ เส้น ตามยาวได้ ๙๘ เส้น

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

กรุงเทพทวาราวดี

กรุงเทพทวาราวดีซึ่งเป็นเมืองหลวงภายหลัง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งเป็นที่แผ่นดินแหลมแม่น้ำลพบุรี ด้านเหนือด้านใต้ด้านตะวันตกจดแม่น้ำ แต่ด้านตะวันออกเป็นพื้นดินเดียวกันกับกรุงศรี อยุธยา เพราะฉะนั้นเมื่อสร้างกรุงแล้วจึงได้ปรากฏว่า ด้านตะวันออกนี้มีแต่คู หาแม่น้ำมิได้ คูนี้เป็นคูแยกจากแม่น้ำลพบุรีแต่ตำบลหัวรอ ไปบรรจบแม่น้ำบางกะจะ ป้อมเพ็ชร์เรียกว่าคูขื่อหน้า แต่ชั้นเดิมคงจะแคบ มาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา เมื่อจุลศักราช ๙๒๔ ปี จึงโปรดให้ขุดขยายออกไปเป็นกว้าง ๑๐ วา ลึก ๓ วา เพราะเข็ดเมื่อครั้งในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช คูขื่อหน้าแคบ ทัพหงสาวดีจึงถมถนนข้ามเข้ามาตีกรุงได้

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ภูมิสถานพระนคร

กรุงศรี อยุธยา นั้น ตั้งอยู่ข้างฟากตะวันออกของกรุงเทพทวาราวดี คงจะอยู่ทางสเตชั่นรถไฟเก่า ออกไปในแถวที่วัดสมณโกษ วัดกุฎีดาว และวัดศรีอโยธยา ซึ่งมาภายหลังเรียกกันว่าวัดเดิม เมืองคงจะหันหน้าไปทางตะวันออกลงแม่น้ำหันตรา แต่กำแพงป้อมปราการเห็นจะไม่ใช่ก่อด้วยอิฐ คงเป็นเชิงเทินดิน เมื่อเมืองร้างแล้วก็มีคนถากถางเกลี่ยทำเป็นไร่นา และทั้งปราสาทราชฐานก็คงจะเป็นเครื่องไม้ จึงมิได้มีสิ่งใดเหลือ

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ขุนหลวงตากตั้งตัว

ในขณะเมื่อกองทัพพม่าข้าศึกยกเข้ามาติดพระราชอาณาเขตนั้น เจ้าตากพระนามเดิมชื่อสิน ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ทรงโปรดให้เป็นเจ้าเมืองตาก ในเวลานั้นเข้ามาอยู่ในกรุง จึงโปรดเลื่อนให้เป็นที่พระยากำแพงเพ็ชร และให้เป็นนายกองทัพเรือยกออกไปตั้งคอยสกัดตีทัพเรือพม่า ซึ่งจะมาทางทุ่งวัดใหญ่นอกพระนครด้านตะวันออก พระยากำแพงเพ็ชรตั้งค่ายอยู่ที่วัดพิชัยวัดกล้วย แลเห็นว่ากรุงจะเสียแก่พม่า ไม่มีช่องทางอันใดซึ่งจะป้องกันเอาไว้ได้แล้ว จึงได้คิดหลีกหนีตีฝ่ากองทัพพม่า ซึ่งตั้งล้อมกรุงออกไปทางบ้านหันตราบ้านข้าวเม่า ไปจนถึงแขวงเมืองระยองก็ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า เพราะจะให้เป็นที่คนนิยมนับถือและกลัวเกรงอำนาจ เรียกว่าเจ้าตาก หาเรียกเจ้ากำแพงเพ็ชรไม่ แล้วยกไปตีเมืองจันทบุรีได้ ตั้งมั่นรวบรวมรี้พลสะเบียงอาหารต่อเรือรบเรือไล่ไว้พร้อม เมื่อรู้ว่ากรุงเสียแก่พม่าแล้ว ก็ยกทัพเรือเข้ามาตีพม่าที่ตั้งรักษาเมืองธนบุรี และค่ายโพสามต้นกรุงเก่าแตก แล้วก็มิได้ตั้งอยู่ที่กรุงเก่า พารี้พลกวาดครอบครัวราษฎรกับทั้งพระราชวงศ์และข้าราชการกรุงเก่า ซึ่งยังเหลือตกค้างอยู่ที่ค่ายโพสามต้น ไปตั้งเมืองธนบุรียกขึ้นเป็นกรุงธนบุรี สร้างพระราชวังขึ้นที่ปากคลองบางกอกใหญ่ คือที่โรงเรียนนายเรือในปัตยุบันนี้ เจ้าตากเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา นับตามลำดับพระนามเป็นพระองค์ที่ ๔

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ต้นเหตุที่กรุงเทพทวาราวดีจะหมดกำลัง

เหตุที่กรุงเทพทวาราวดีจะเสื่อมถอยหมดกำลังลงนั้น เริ่มต้นเกิดมาตั้งแต่พระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อจุลศักราช ๙๖๔ ปี ครั้งนั้นก็ฆ่าขุนนางเก่าเสียมาก มาแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองฆ่าขุนนางพวกพระเชษฐาธิราช แต่เห็นจะน้อย ครั้นถึงแผ่นพระนารายณ์ ฆ่าขุนนางที่เป็นพวกเจ้าฟ้าชัยและพระศรีสุธรรมราชาเห็นจะเกือบหมด จนต้องใช้ขุนนางแขก ขุนนางลาว ขุนนางฝรั่ง มีพระยารามเดโช พระยาราชวังสัน พระยาสีหราชเดโช เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นต้น แผ่นดินพระเพทราชา ฆ่าขุนนางแผ่นดินพระนารายณ์ หย่อยมาจนไปตีเมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เห็นจะเรียกว่าเกือบหมดได้ แผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือเห็นจะฆ่ามาก เพราะคนนิยมเจ้าพระขวัญกับพวกเจ้าพระพิชัยสุรินทร์ก็น่าจะเป็นขุนนางอยู่ไม่ ได้ แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อจุลศักราช ๑๐๙๔ ข้าราชการวังหลวงเห็จจะตายเกือบหมด คิดดูในระหกว่าง ๑๓๐ ปีฆ่าเททิ้งกันเสียถึง ๗ ครั้ง เป็น ๑๘ ปีฆ่ากันครั้งหนึ่ง หรือถ้ารอดตายก็กลายเป็นไพร่หลวงและตะพุ่นหญ้าช้าง ถ้าจะนับพวกที่รอดตายก็ต้องว่าผู้ดีกลายเป็นไพร่ ไพร่กลายเป็นผู้ดีในระหว่างนั้น ๗ ครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้มาในตอนหลังบ้านเมืองจะมีกำลังอย่างไรได้ และเมื่อขุนหลวงหาวัดได้ราชสมบัติ ก็ยังสำเร็จโทษเจ้าเสียอีก ๓ กรม ซ้ำขุนหลวงหาวัดเองกับพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ก็ไม่ ปรองดองกัน จึงพาให้การปกครองบ้านเมืองแปรปรวนรวนเรไป เพราะฉะนั้นเมื่อศึกพม่ามาติดพระนครจึงไม่มีตัวข้าราชการที่สามารถเป็นแม่ทัพนายกองนำพลเข้าต่อสู้ข้าศึก ท้าวพระยาเสนาบดีคนไรเป็นแม่ทัพก็ไม่ได้รบพุ่ง เช่นพระยายมราชเป็นแม่ทัพตั้งอยู่ที่เมืองนนท์ พอพม่าตีเมืองธนบุรีได้กำปั่นลูกค้าอังกฤษซึ่งรับอาสาต่อสู้พม่าถอยหนีขึ้น มา พระยายมราชยังไม่ทันรบก็พลอยเลิกทัพหนีไปด้วย พระยาพระคลังเป็นแม่ทัพถือพลถึง ๑๐๐๐๐ ยกออกไปตีค่ายพม่าที่วัดป่าฝ้าย ปากน้ำประสบ พม่ายิงปืนมาต้องพลทัพไทยล้มลง ๔ - ๕ คน กองทัพนั้นก็ถอยมาสิ้น อยู่มา ๒ - ๓ วัน รับสั่งให้พระยาพระคลังยกออกไปตีค่ายปากน้ำประสบอีก ยังไม่ทันได้รบ พม่าแต่งกลหลอกให้เข้าใกล้แล้วออกไล่ยิงแทงพลทัพไทยตายลง กองทัพใหญ่ก็พลอยแตกพ่ายเข้าพระนคร ครั้งหนึ่งโปรดให้ท้าวพระยาอาสายกเหล่ายกทัพเรือข้ามไปตีค่ายพม่าวัดการ้อง พม่ายิงปืนมาถูกนายเริก ซึ่งเห็นจะเมายืนรำดาบ ๒ มือเป็นเป้าอยู่หน้าเรือตกน้ำลงคนหนึ่ง ทัพเรือก็เลิกถอยเข้าพระนคร
เมื่อ ทัพพม่ายกเข้าในพระราชอาณาเขต เกณฑ์ให้พระยาพิษณุโลกเอากองทัพมาตั้งที่ภูเขาทอง พอพม่าจวนจะถึงกรุง พระยาพิษณุโลกในพระยาพลเทพกราบทูล ขอกราบถวายบังคมลาขึ้นไปปลงศพมารดา ให้หลวงโกษามหาดไทย หลวงเทพเสนาคุมกองทัพอยู่แทน ก็โปรดพระราชทานพระราชานุญาตให้ไปตามขอ น้ำพระทัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ มีพระกรุณาเยือกเย็นอยู่เป็นพื้นเสมอดังนี้ จะได้ปรากฏว่า ผู้ไม่ปลงใจในการต่อสู้ข้าศึกต้องรับพระราชขอาญาบ้างก็หามิได้ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ใครจะอยากรบ เหตุการที่เป็นมาแต่ต้นจนเสียเมืองก็สมกับพงศาวดารกล่าวว่า ชาตากรุงทวาราวดีถึงกาลขาด

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

พระนามสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงเทพทวาราวดี

ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์

ซึ่ง รวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรี อยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา มีดังนี้

พระราชวงศ์เชียงราย
๑. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๑ คือพระเจ้าอู่ทอง เสวยราชย์ศักราช ๗๑๒(พ.ศ. ๑๘๙๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๓๑(พ.ศ. ๑๙๑๒)
๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๑(๑๙๑๒) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓)

พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชพระองค์ที่ ๑ พระเจ้าพฤฒิเดช นัยหนึ่งว่ามหาเดชก็เรียก (ขุนหลวงพงัว) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)
๔. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ พระเจ้าทองลั่นก็เรียก เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๗ วัน สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)

พระราชวงศ์เชียงราย
๕. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐)
๕. สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช (พระยาราม) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔)

พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๖. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๑ อีกพระนามเรียกพระมหานัครินทราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑)
๗. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เสวยราชย์ศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗)
๘. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสวยราชย์ศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒)
๙. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓)
๑๐. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๔๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒)
๑๑. สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒) อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๕(๒๐๕๖)
๑๒. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๔(๒๐๕๖) อยู่ในราชสมบัติ ๕ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗)
๑๓. สมเด็จพระชัยราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๐)
๑๔. สมเด็จพระยอดฟ้า เสวยราชย์ศักราช ๘๘๙(๒๐๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปีครึ่ง สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๒)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๘๙๐(๒๐๗๑) อยู่ในราชสมบัติ ๒๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗) อยู่ในราชสมบัติ๑ ปี สุกรัชกาลศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙)

พระราชวงศ์สุโขทัย
๑๗. สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑)
๑๘. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕)
๑๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕) อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔)
๒๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๔ (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕)

พระราชวงศ์ทรงธรรม
๒๑. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๑ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม อย่างหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าทรงธรรม (พระพิมลธรรม) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐)
๒๒. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๒ คือพระเชษฐาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี ๗ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒)
๒๓. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เสวยราชย์ศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒) อยู่ในราชสมบัติ ๖ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓)

พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๔. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๕ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระรามาธิเบศร์ คือพระเจ้าปราสาททอง เสวยราชย์ศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘)
๒๕. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๙ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๖. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๗. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระนารายณ์มหาเอกาทศรฐราช เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕)

พระราชวงศ์บ้านพูลหลวง (แซก)
๒๘. สมเด็จพระมหาบุรุษ อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระธาดาธิเบศร์ (พระเพทราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๐๕๙(๒๒๔๐)

พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๘ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระสุริเยนทราธิบดี คือพระพุทธเจ้าเสือ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๕๙(๒)(๒๒๔๐) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙)
๓๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๙ สมเด็จพระภูมินทราชา หรือขุนหลวงทรงเบ็ดก็เรียก คือพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๙๔(๒๒๗๕)
๓๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ เมื่อสวรรคตแล้ว เรียกพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๙๕(๒๒๗๖) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๒. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๔ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระมหาอุทุมพร มหาพรวินิจ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิจ เมื่อทรงผนวชเรียกกันว่า ขุนหลวงหาวัด เสวยราชย์ศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๐ วัน สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
เสวยราชย์ศักราชย์ ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๙ (๒๓๑๐)(วัน ๓ฯ๙๕ ค่ำ ปีกุน)

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ตอนที่ 1 : ประวัติกรุงเก่าจากพระราชพงศาวดาร

เมืองหนึ่งซึ่งอยู่เหนือจากกรุงเทพมหานครขึ้นไปที่เรียกกันว่ากรุงเก่าใน เวลานี้ ใช่จะได้เป็นเมืองหลวงของประเทศสยามเฉพาะแต่ครั้งที่สมเด็จพระรามา ธิบดี(อู่ทอง) เสด็จมาสร้างเป็นพระนครขึ้นที่หนองโสนเป็นคราวแรกก็หาไม่ ตามตำราโบราณมีพระราชพงศาวดารเหนือเป็นต้น กล่าวความชัดเจนว่า เมืองนี้ก่อนแต่ศักราช ๓๐๐ ขึ้นไป ก็เคยได้เป็นเมืองหลวงของประเทศสยามชื่อว่ากรุงศรี อยุธยา มีกษัตริย์ทรงปกครองสืบต่อมาเป็นหลายพระองค์ แต่ความในพระราชพงศาวดารฉะบับนั้น บกพร่องไม่ใคร่จะติดต่อกันได้ ลงท้ายชื่อกรุงศรี อยุธยา สูญหายกลายเป็นเมืองเรียกว่า เมืองเสนาราชนคร จึงเห็นว่าคงจะเป็นด้วยกรุงศรี อยุธยา เสื่อมถอยลง เมืองอื่นมีอำนาจเข้มแข็งก็แผ่ลงมาได้ไปเป็นเมืองขึ้น จึงได้ลดจากกรุงลงมาเป็นเมืองไป ครั้งเมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปี พระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์เชียงราย ซึ่งเสวยราชสมบัติในเมืองเทพนคร เมืองนี้ทีจะอยู่ใกล้กับเมืองที่มีอำนาจ จะเป็นที่คับแคบ ซึ่งพระเจ้าอู่ทองจะขยายแดนออกไปอีกไม่ได้ หรือกลัวเมืองอื่นจะมาทำอันตรายได้ง่ายในอย่างใด จึงได้เสด็จลงมาสร้างเมืองหลวงขึ้นที่ตำบลหนองโสนข้างทิศตะวันตกกรุงศรี อยุธยา ซึ่งไม่ได้ไปตั้งที่กรุงเดิมนั้น ก็คงจะทรงเห็นว่ากรุงศรี อยุธยา ได้แม่น้ำแต่ด้านเดียว ที่ๆสร้างกรุงใหม่ได้แม่น้ำถึง ๓ ด้าน เมื่อสร้างกรุงแล้วจึงขนานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรี อยุธยา ต่อมาเรียกกรุงเทพทวาราวดีบ้าง กรุงศรี อยุธยา บ้าง แต่ชื่อศรี อยุธยา เป็นที่นิยมใช้กันมาก ตลอดถึงต่างประเทศ และพม่า มอญ เขมรลาว ก็เรียกเมืองไทยว่ากรุงศรี อยุธยา แต่ฝรั่งใช้คำห้วนเรียกว่า อยุธยา ก็เพราะด้วยศรี อยุธยา เคยเป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศสยามมาช้านานแล้ว พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาครองราชสมบัติในกรุงเทพทวาราวดี เฉลิมพระนามบรมนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระรามาธิบดี คือประกาศแสดงความอิสรภาพของประเทศเป็นเอกราช เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง)แล้ว ก็มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมา ยกเสียแต่ขุนวรวงศาธิราช ซึ่งไม่นับเข้าในลำดับกษัตริย์ในพระราชพงศาวดาร ได้ ๑๕ พระองค์ ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในระหว่าง ๑๕ รัชกาลนี้ บางแผ่นดินก็ได้มีการยกทัพไปปราบปรามหัวเมืองและประเทศที่ใกล้เคียง คือ หัวเมืองเหนือและลาว เขมร มลายู หลายครั้ง
อนึ่งในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระ มหาจักรพรรดินั้น กษัตริย์กรุงหงสาวดีทรงพระนามว่าตะเบงซวยตี้ พงศาวดารมอญเรียกพระเจ้ามังส่วย หรืออีกนัยหนึ่งวว่ามังโสถิ์ ตั้งต้นก่อสงครามยกทัพพม่ามอญเข้ามาตีกรุงเทพทวาราวดีถึง ๒ ครั้งก็หาได้ไม่ มาภายหลังเมื่อพระเจ้าตะบเงซวยตี้ดับสูญไปแล้ว บุเรงนองเชื้อพระวงศ์ได้เป็นพระเจ้าหงสาวดี ในพงศาวดารมอญเรียกพระเจ้าฝรั่งมังตรี หรืออีกนัยหนึ่งเรียกพระเจ้าชนะสิบทิศ เพราะเป็นผู้มีอำนาจมาก ยกทัพพม่ามอญมาตีกรุงทวาราวดีอีก ๒ ครั้ง ครั้งหลังตีได้ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช เมื่อจุลศักราช ๙๑๘ ปี พระเจ้าหงสาวดีจึงตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ นับเป็นพระองค์ที่ ๑ ในพระนามนี้ ครั้งนั้นกรุงเทพทวาราวดีก็ตกไปอยู่ในอำนาจกรุงหงสาวดี
มาจนถึงศักราช ๙๒๗ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงพระอุตสาหะเริ่มก่อกู้เอาประเทศสยามออกพ้นจาก อำนาจกรุงหงสาวดี กลับตั้งขึ้นเป็นเอกราชและมีอำนาจใหญ่ ได้ทำสงครามกับมอญพม่า มีชัยได้แผ่นดินมอญมาเป็นเมืองขึ้น ล่วงมาได้ ๑๕ แผ่นดิน ในระหว่างนี้ก็มีแต่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่ได้ทรงแต่งกองทัพไปตีเมือง พม่ากับเมืองเชียงใหม่
ถึงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาพระองค์ที่ ๓ นับตามลำดับกษัตริย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๓ พระนามเดิมเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี เมื่อเสวยราชสมบัติแล้วมีพระนามวิเศษอีกอย่างหนึ่งว่า พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ที่ออกพระนามดังนี้ ก็เป็นด้วยเหตุที่โปรดประทับอยู่ในพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ คนทั้งหลายจึงได้เรียกพระนามพระที่นั่ง ในครั้งนั้นข้างฝ่ายพม่า มังลองได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีชื่อใหม่ว่า พระเจ้าอลองพรายี ยกมาตีกรุงเทพทวาราวดี ครั้งที่ ๑ไม่ได้ เลิกทัพกลับไปดับสูญกลางทาง ภายหลังมังระราชบุตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่า จึงแต่งให้มังมหานอรธากับเนเมียวเป็นแม่ทัพยกเข้ามาตีกรุงอีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัทรินทร์เสวยราชสมบัติได้ ๙ พรรษา เมื่อจุลศักราช ๑๑๒๙ ปี กรุงเทพทวาราวดีก็เสียแก่กองทัพทัพพม่าข้าศึก พม่าเก็บริบทรัพย์สมบัติและเครื่องศาสตราวุธ แล้วเอาไฟเผาพระราชวังและวัดวาอารามบ้านเรือนข้าราชการเป็นอันตราย กวาดต้อนพระราชวงศานุวงศ์ ครอบครัวข้าราชการ ราษฎรไปเมืองอังวะ ประมาณ ๓๐๐๐๐ เศษ
แต่ที่แตกหนีเที่ยวเร้นซ่อนตามป่าดงและหัวเมืองต่างๆ ทั้งอดอยากล้มตายเสียก็มาก แม่ทัพพม่าตั้งให้พระนายกองอยู่รักษากรุง สำหรับรวบรวมผู้คนซึ่งยังแตกฉานซ่านเซ็นอยู่ในที่ต่างๆ พระนายกองตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น พระนายกองคนนี้เป็นมอญเก่าอยู่ในกรุง มีความชอบที่เจ้ารับอาสาพม่าไปตีค่ายบางระจันแตก และคงจะทำการรบพุ่งในที่อื่นแข็งแรงจนพม่าไว้ใจ จึงตั้งให้เป็นที่สุกี้ คำไทยเรียกว่าพระนายกอง
คิดอายุกรุงเทพทวาราวดีแต่แรกที่สมเด็จพระรามา ธิบดี(อู่ทอง)ทรงตั้งเป็นเอกราช มาจนเสียกรุงแก่พระเจ้าบุเรงนองกรุงหงสาวดีในแผ่นดินพระมหินทราธิราชนับได้ ๒๐๖ ปี ตกไปอยู่ในอำนาจกรุงหงสาวดี ๙ ปี เมื่อจุลศักราช๙๒๗ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงก่อกู้ ขาดจากอำนาจกรุงหงสาวดีกลับเป็นเอกราชมาจนเสียกรุงแก่พม่าข้าศึก ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอบยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ นับได้ ๒๐๒ ปี รวมอายุกรุงเทพทวาราวดีแต่แรกสร้างจนเสียแก่พม่าปัจจามิตร ๓ ยุคได้ ๔๑๗ ปี

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

การล่มสลายของอาณาจักร กรุงศรี อยุธยา

ช่วง สมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรี อยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรง นำทัพมารุกรานอาณาจักร อยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักร อยุธยา อีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักร อยุธยา พร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

การขยายดินแดน

กรุงศรี อยุธยา ดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรี อยุธยา

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

วัดธรรมิกราช

เมื่อ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือพระเจ้าธรรมิกราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ( อยุธยา ) ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือคือ พระเจดีย์สิงห์ล้อม ๕๒ ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ทั่วไป นับเป็นพระเจดีย์สิงห์แห่งเดียวในพระนครศรี อยุธยา ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมา พระมหากษัตริยได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด โดยสังเกตจากร่องรอยการซ่อมแซม และพื้นที่ของวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครฯ ตามคติโบราณถือว่าเป็นทิศมงคล ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวง เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) สำหรับพระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น

พระราชมเหสีของพระองค์ทรงมีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมากพระราชพงศาวดารว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ เจ้าสามกรมต่าง รวบรวมผู้คนเพื่อจะชิงราชสมบัติ พระธรรมโคดมวัดธรรมิกราช และพระราชาคณะวัดกุฏีดาว วัดพุทไธสวรรย์ วัดรามรามาวาส ไปเทศน์โปรดให้เจ้าทั้งสามกรมให้สามัคคีกันและให้กระทำสัตย์สาบาล

ก่อน เสียกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงผนวชที่วัดนี้พร้อมด้วยมหาดเล็กชื่อนายหง โดยตั้งพระทัยว่าถ้าบ้านเมืองเกิดศึกจะออกไปช่วยรบ ต่อมาเมื่อทัพข้าศึกยกมาถึงตำบลภูเขาทอง นายหงลาสิกขาก่อนออกรบและแตกพ่ายไปเข้ากับพระยาตาก (สิน) เมื่อกู้อิสรภาพแล้วต่อมาได้รับพระราชทานเป็นพระยาเพชรพิชัยจนต่อสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ บุตรของพระยาเพชรพิชัยที่รับราชการต่อมาก็เป็นพระยาเพชรพิชัยสืบมา จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ภริยาพระยาเพชรพิชัยตามเสด็จมาที่วัดเกิดศรัทธาจึงบูรณะวัดขึ้น ในสมัยที่พระครูธรรมิกาจารคุณ (ฟัก) เป็นเจ้าอาวาส โดยบูรณะพระอุโบสถและพระวิหารใหม่และจะขอพระราชทานเป็นพระอารามหลวง แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีทรงสวรรคตก่อน มีสถานที่ตั้งเครื่องรับเสด็จและบ่อน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประมาณปี๒๔๘๔ พระอุโบสถเดิมพระประธานเป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิด ทอง ผนังด้านตะวันออกเขียนเป็นภาพพุทธประวัติโดยนายช่างแข ก่อนจะทรุดตัวลง หลังคาได้ทรุดลงมาก่อนทางวัดได้มุงสังกระสีไว้ ยังไม่ทันบูรณะผนังพระอุโบสถก็ทรุดพังลง ทางวัดเตรียมการจะบูรณะ แต่ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาซ่อมแทน เดิมเขตกฎีสงฆ์ที่เป็นเขตสังฆาวาสนั้นอยู่หลังพระอุโบสถติดกับศาลพระเจ้า ธรรมิกราช สมัยที่นายปรีดีพนมยงค์สร้างวัดพนมยงค์นั้น เริ่มทำการบูรณะพระวิหารมงคลบพิตรแล้วจะนำช่างชุดเดียวกันมาบูรณะ วัดธรรมิกราชต่อ แต่มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ต่อมาสมัยจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายก ฯ ได้มาสร้างกำแพงวัดปูพื้นพระวิหารพระนอนและกุฏิสงฆ์ ยังไม่แล้วเสร็จก็เกิดเหตุทางการเมืองขึ้นอีกจนกรมศิลปากรเข้ามาดำเนินการ ต่อ

เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์เป็นศิลปะสมัยอู่ทอง เดิมอยู่ในวิหารหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กล่าวว่าผู้ใดเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้าพระพักตร์คนผิดต้องตายหรือมีอัน เป็นไปทุกคนเป็นที่กล่าวขานกันมาก สมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ( อยุธยา ) จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษม ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไป

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

วิหารพระมงคลบพิตร

สันนิษฐาน กันว่า สร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยา ตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทองว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก

สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑล อยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติกับพวก ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ

ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ ในคราวบูรณะพระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรุปบรรจุไว้ในพระพาหา (แขน) เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

วัดพนัญเชิง

วัด พนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรี อยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง [ต้องการอ้างอิง] และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรี อยุธยา ถึง 26 ปี พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดในพระนครศรี อยุธยา หน้าตักกว้าง 14 เมตรเศษ สูง 19 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย

เคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุงศรี อยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2497 ได้โปรดเกล้าให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่รู้จักกันในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนว่า หลวงพ่อซำปอกง[ต้องการอ้างอิง] คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง / วัดพระแนงเชิง หรือ / วัดพระเจ้าพแนงเชิง จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต ( อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน )

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

Tuesday, October 26, 2010

วัดหน้าพระเมรุ

วัด หน้าพระเมรุ เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดจังหวัดพระนครศรี อยุธยา สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงศรี อยุธยา ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว (ริมแม่น้ำลพบุรีเก่า) เดิมชื่อว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในคราวเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งที่ 2 เนื่องจากพม่าไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่นั่น จึงยังคงสภาพดีมาก วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดจังหวัดพระนครศรี อยุธยา สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงศรี อยุธยา ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว (ริมแม่น้ำลพบุรีเก่า) เดิมชื่อว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในคราวเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งที่ 2

เนื่อง จากพม่าไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่นั่น จึงยังคงสภาพดีมากพระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ. 2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุ และวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัย อยุธยา ตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิดทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค อยู่บนราหู ล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึกเป็นกาพย์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือวิหารเขียนมีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอยู่

เหตุที่ ได้ชื่อว่าวัดหน้าพระเมรุนั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาหลังจากที่ได้ยิงปืนใหญ่ใส่วัดราชบูรณะจน เสียหายแล้ว ก็ได้พยายามยิงปืนใหญ่ใส่พระบรมมหาราชวัง โดยปกติ ปืนใหญ่โบราณหลังยิงไปแล้วลูกหนึ่งจะต้องหยุดพักสักครู่แล้วจึงยิงใหม่ แต่ด้วยความใจร้อนของพระองค์ พระองค์สั่งให้ยิงปืนใหญ่โดยไม่ต้องพัก ทำให้ปืนร้อนจัดจนระเบิดใส่พระองค์ ระหว่างเดินทางกลับ พระเจ้าอลองพญาทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง วัดหน้าพระเมรุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net

ayutthaya อยุธยา

ayutthaya อยุธยา เป็นบล็อกที่รวบรวมทุกอย่างที่เป็น ayutthaya หรือ อยุธยา ไม่ว่าจะเป็นข่าวต่าง ๆ ใน อยุธยา สถานที่ท่องเที่ยว ใน อยุธยา ความเป็นมาของจังหวัด อยุธยา ราคาที่พักต่าง ๆ ในจังหวัด อยุธยา นอกจากนี้ยังมีบริการต่าง ๆ ด้าน IT ดังนี้
ซึ่งสามารถตอบโจทย์ต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านอินเตอร์เน็ต และไม่มีความรู้ด้านนี้ ว่า มีเว็บแล้วทำไมไม่มีคนเข้า หรือ ราคาทำเว็บทำไมไม่เท่ากัน และอื่น ๆ อีกมากมาย

แผนผังเว็บไซต์

ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก
ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net