Friday, October 29, 2010
บึงชีขัน
บึงชีขันนี้พิเคราะห์ดู เห็นว่าเดิมจะเป็นหนองเป็นที่มีน้ำขังอยู่แล้ว หรือจะคิดให้สูงขึ้นไปจะว่าเป็นตัว "หนองโสน" ตามที่มีชื่อมาในพระราชพงศาวดารจะได้ดอกกระมัง แต่ไม่มีพะยานหลักฐานอะไรนอกจากลองนึกเดา บึงนี้เดิมทีก็จะเล็ก ต่อมาเมื่อสร้างกรุง คงจะขุดเอาดินในที่แถวนี้ขึ้นถมเป็นพื้นวังและพื้นวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม จึงกลายเป็นใหญ่โตไป ดินที่เว้นไว้เป็นทางคนขนมูลดินเดิน ก็เลยทำเป็นถนนรีถนนขวางข้ามบึงปูอิฐตะแคงเสียทั้ง ๓ สาย เจาะช่องสำหรับให้เรือเดินไปมาได้ถึงกันตลอดบึง ตามหลังช่องนั้นคิดดูเห็นจะมีสะพานไม้ สำหรับให้คนเดินไปมาตามถนนได้ตลอด และมีทางน้ำที่จะเอาเรือนอกพระนครเข้าไปในบึงได้ ๒ ทาง ด้านใต้คลองประตูจีน คลองประตูเทพหมี คลองฉะไกรน้อย มารวมกันเข้าที่ข้างวัดสะพานนาคทางหนึ่ง ด้านตะวันออกเข้าช่องแยกจากคลองประตูข้าวเปลือก ข้างวัดมหาธาตุทางหนึ่งในบึงมีวัดอยู่ตามเกาะหลายวัด และตึกดินก็อยู่บนเกาะในบึงนี้ด้วย
ที่ขอบบึงตรงหน้าวัดพระรามออกไปมีตึก หลังหนึ่งเป็นตึกสองชั้น ตามช่องประตูหน้าต่างก่อเป็นโค้งคูหา มีทางขึ้นข้างหน้าและข้างๆตึก ตึกนี้ชาวบ้านบางคนว่าเป็นตึกพระราชาคณะผู้ครองอาวาสวัดพระราม แต่พิเคราะห์ดูเห็นจะไม่ใช่ของสำหรับวัด เพราะอยู่นอกกำแพงวัดเเละเป็นตึกสูง น่าจะเป็นพระที่นั่งสำหรับเสด็จขึ้นไปประทับทอดพระเนตรเรือ ซึ่งจะโปรดให้มีประชุมเล่นเพลงสักวาในคราวนักขัตฤกษ์ฤดูน้ำบ้างในบางปี
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
สะพานในเมือง
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ป้อมตามกำแพงเมือง
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
Wednesday, October 27, 2010
ขยายกำแพงเมืองด้านตะวันออก
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
กำแพงพระนคร
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
กรุงเทพทวาราวดี
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ภูมิสถานพระนคร
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ขุนหลวงตากตั้งตัว
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ต้นเหตุที่กรุงเทพทวาราวดีจะหมดกำลัง
เมื่อ ทัพพม่ายกเข้าในพระราชอาณาเขต เกณฑ์ให้พระยาพิษณุโลกเอากองทัพมาตั้งที่ภูเขาทอง พอพม่าจวนจะถึงกรุง พระยาพิษณุโลกในพระยาพลเทพกราบทูล ขอกราบถวายบังคมลาขึ้นไปปลงศพมารดา ให้หลวงโกษามหาดไทย หลวงเทพเสนาคุมกองทัพอยู่แทน ก็โปรดพระราชทานพระราชานุญาตให้ไปตามขอ น้ำพระทัยพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ มีพระกรุณาเยือกเย็นอยู่เป็นพื้นเสมอดังนี้ จะได้ปรากฏว่า ผู้ไม่ปลงใจในการต่อสู้ข้าศึกต้องรับพระราชขอาญาบ้างก็หามิได้ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ใครจะอยากรบ เหตุการที่เป็นมาแต่ต้นจนเสียเมืองก็สมกับพงศาวดารกล่าวว่า ชาตากรุงทวาราวดีถึงกาลขาด
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
พระนามสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงเทพทวาราวดี
ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่ง รวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรี อยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา มีดังนี้
พระราชวงศ์เชียงราย
๑. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๑ คือพระเจ้าอู่ทอง เสวยราชย์ศักราช ๗๑๒(พ.ศ. ๑๘๙๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๓๑(พ.ศ. ๑๙๑๒)
๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๑(๑๙๑๒) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓)
พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชพระองค์ที่ ๑ พระเจ้าพฤฒิเดช นัยหนึ่งว่ามหาเดชก็เรียก (ขุนหลวงพงัว) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)
๔. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ พระเจ้าทองลั่นก็เรียก เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๗ วัน สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)
พระราชวงศ์เชียงราย
๕. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐)
๕. สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช (พระยาราม) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔)
พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๖. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๑ อีกพระนามเรียกพระมหานัครินทราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑)
๗. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เสวยราชย์ศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗)
๘. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสวยราชย์ศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒)
๙. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓)
๑๐. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๔๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒)
๑๑. สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒) อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๕(๒๐๕๖)
๑๒. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๔(๒๐๕๖) อยู่ในราชสมบัติ ๕ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗)
๑๓. สมเด็จพระชัยราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๐)
๑๔. สมเด็จพระยอดฟ้า เสวยราชย์ศักราช ๘๘๙(๒๐๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปีครึ่ง สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๒)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๘๙๐(๒๐๗๑) อยู่ในราชสมบัติ ๒๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗) อยู่ในราชสมบัติ๑ ปี สุกรัชกาลศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙)
พระราชวงศ์สุโขทัย
๑๗. สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑)
๑๘. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕)
๑๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕) อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔)
๒๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๔ (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕)
พระราชวงศ์ทรงธรรม
๒๑. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๑ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม อย่างหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าทรงธรรม (พระพิมลธรรม) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐)
๒๒. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๒ คือพระเชษฐาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี ๗ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒)
๒๓. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เสวยราชย์ศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒) อยู่ในราชสมบัติ ๖ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓)
พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๔. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๕ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระรามาธิเบศร์ คือพระเจ้าปราสาททอง เสวยราชย์ศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘)
๒๕. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๙ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๖. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๗. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระนารายณ์มหาเอกาทศรฐราช เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕)
พระราชวงศ์บ้านพูลหลวง (แซก)
๒๘. สมเด็จพระมหาบุรุษ อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระธาดาธิเบศร์ (พระเพทราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๐๕๙(๒๒๔๐)
พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๘ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระสุริเยนทราธิบดี คือพระพุทธเจ้าเสือ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๕๙(๒)(๒๒๔๐) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙)
๓๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๙ สมเด็จพระภูมินทราชา หรือขุนหลวงทรงเบ็ดก็เรียก คือพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๙๔(๒๒๗๕)
๓๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ เมื่อสวรรคตแล้ว เรียกพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๙๕(๒๒๗๖) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๒. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๔ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระมหาอุทุมพร มหาพรวินิจ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิจ เมื่อทรงผนวชเรียกกันว่า ขุนหลวงหาวัด เสวยราชย์ศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๐ วัน สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
เสวยราชย์ศักราชย์ ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๙ (๒๓๑๐)(วัน ๓ฯ๙๕ ค่ำ ปีกุน)
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ตอนที่ 1 : ประวัติกรุงเก่าจากพระราชพงศาวดาร
อนึ่งในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระ มหาจักรพรรดินั้น กษัตริย์กรุงหงสาวดีทรงพระนามว่าตะเบงซวยตี้ พงศาวดารมอญเรียกพระเจ้ามังส่วย หรืออีกนัยหนึ่งวว่ามังโสถิ์ ตั้งต้นก่อสงครามยกทัพพม่ามอญเข้ามาตีกรุงเทพทวาราวดีถึง ๒ ครั้งก็หาได้ไม่ มาภายหลังเมื่อพระเจ้าตะบเงซวยตี้ดับสูญไปแล้ว บุเรงนองเชื้อพระวงศ์ได้เป็นพระเจ้าหงสาวดี ในพงศาวดารมอญเรียกพระเจ้าฝรั่งมังตรี หรืออีกนัยหนึ่งเรียกพระเจ้าชนะสิบทิศ เพราะเป็นผู้มีอำนาจมาก ยกทัพพม่ามอญมาตีกรุงทวาราวดีอีก ๒ ครั้ง ครั้งหลังตีได้ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช เมื่อจุลศักราช ๙๑๘ ปี พระเจ้าหงสาวดีจึงตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ นับเป็นพระองค์ที่ ๑ ในพระนามนี้ ครั้งนั้นกรุงเทพทวาราวดีก็ตกไปอยู่ในอำนาจกรุงหงสาวดี
มาจนถึงศักราช ๙๒๗ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงพระอุตสาหะเริ่มก่อกู้เอาประเทศสยามออกพ้นจาก อำนาจกรุงหงสาวดี กลับตั้งขึ้นเป็นเอกราชและมีอำนาจใหญ่ ได้ทำสงครามกับมอญพม่า มีชัยได้แผ่นดินมอญมาเป็นเมืองขึ้น ล่วงมาได้ ๑๕ แผ่นดิน ในระหว่างนี้ก็มีแต่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่ได้ทรงแต่งกองทัพไปตีเมือง พม่ากับเมืองเชียงใหม่
ถึงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาพระองค์ที่ ๓ นับตามลำดับกษัตริย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๓ พระนามเดิมเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี เมื่อเสวยราชสมบัติแล้วมีพระนามวิเศษอีกอย่างหนึ่งว่า พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ที่ออกพระนามดังนี้ ก็เป็นด้วยเหตุที่โปรดประทับอยู่ในพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ คนทั้งหลายจึงได้เรียกพระนามพระที่นั่ง ในครั้งนั้นข้างฝ่ายพม่า มังลองได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีชื่อใหม่ว่า พระเจ้าอลองพรายี ยกมาตีกรุงเทพทวาราวดี ครั้งที่ ๑ไม่ได้ เลิกทัพกลับไปดับสูญกลางทาง ภายหลังมังระราชบุตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่า จึงแต่งให้มังมหานอรธากับเนเมียวเป็นแม่ทัพยกเข้ามาตีกรุงอีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัทรินทร์เสวยราชสมบัติได้ ๙ พรรษา เมื่อจุลศักราช ๑๑๒๙ ปี กรุงเทพทวาราวดีก็เสียแก่กองทัพทัพพม่าข้าศึก พม่าเก็บริบทรัพย์สมบัติและเครื่องศาสตราวุธ แล้วเอาไฟเผาพระราชวังและวัดวาอารามบ้านเรือนข้าราชการเป็นอันตราย กวาดต้อนพระราชวงศานุวงศ์ ครอบครัวข้าราชการ ราษฎรไปเมืองอังวะ ประมาณ ๓๐๐๐๐ เศษ
แต่ที่แตกหนีเที่ยวเร้นซ่อนตามป่าดงและหัวเมืองต่างๆ ทั้งอดอยากล้มตายเสียก็มาก แม่ทัพพม่าตั้งให้พระนายกองอยู่รักษากรุง สำหรับรวบรวมผู้คนซึ่งยังแตกฉานซ่านเซ็นอยู่ในที่ต่างๆ พระนายกองตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น พระนายกองคนนี้เป็นมอญเก่าอยู่ในกรุง มีความชอบที่เจ้ารับอาสาพม่าไปตีค่ายบางระจันแตก และคงจะทำการรบพุ่งในที่อื่นแข็งแรงจนพม่าไว้ใจ จึงตั้งให้เป็นที่สุกี้ คำไทยเรียกว่าพระนายกอง
คิดอายุกรุงเทพทวาราวดีแต่แรกที่สมเด็จพระรามา ธิบดี(อู่ทอง)ทรงตั้งเป็นเอกราช มาจนเสียกรุงแก่พระเจ้าบุเรงนองกรุงหงสาวดีในแผ่นดินพระมหินทราธิราชนับได้ ๒๐๖ ปี ตกไปอยู่ในอำนาจกรุงหงสาวดี ๙ ปี เมื่อจุลศักราช๙๒๗ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงก่อกู้ ขาดจากอำนาจกรุงหงสาวดีกลับเป็นเอกราชมาจนเสียกรุงแก่พม่าข้าศึก ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอบยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ นับได้ ๒๐๒ ปี รวมอายุกรุงเทพทวาราวดีแต่แรกสร้างจนเสียแก่พม่าปัจจามิตร ๓ ยุคได้ ๔๑๗ ปี
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
การล่มสลายของอาณาจักร กรุงศรี อยุธยา
ช่วง สมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรี อยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรง นำทัพมารุกรานอาณาจักร อยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักร อยุธยา อีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักร อยุธยา พร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
การขยายดินแดน
กรุงศรี อยุธยา ดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรี อยุธยา
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
วัดธรรมิกราช
เมื่อ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือพระเจ้าธรรมิกราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ( อยุธยา ) ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือคือ พระเจดีย์สิงห์ล้อม ๕๒ ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ทั่วไป นับเป็นพระเจดีย์สิงห์แห่งเดียวในพระนครศรี อยุธยา ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมา พระมหากษัตริยได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด โดยสังเกตจากร่องรอยการซ่อมแซม และพื้นที่ของวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครฯ ตามคติโบราณถือว่าเป็นทิศมงคล ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวง เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) สำหรับพระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น
พระราชมเหสีของพระองค์ทรงมีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวาย น้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กล่าวกันว่ามี ความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมาอธิษฐาน ขอไปใช้ตามความปรารถนาจำนวนมากพระราชพงศาวดารว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่ หัวบรมโกศ เจ้าสามกรมต่าง รวบรวมผู้คนเพื่อจะชิงราชสมบัติ พระธรรมโคดมวัดธรรมิกราช และพระราชาคณะวัดกุฏีดาว วัดพุทไธสวรรย์ วัดรามรามาวาส ไปเทศน์โปรดให้เจ้าทั้งสามกรมให้สามัคคีกันและให้กระทำสัตย์สาบาล
ก่อน เสียกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงผนวชที่วัดนี้พร้อมด้วยมหาดเล็กชื่อนายหง โดยตั้งพระทัยว่าถ้าบ้านเมืองเกิดศึกจะออกไปช่วยรบ ต่อมาเมื่อทัพข้าศึกยกมาถึงตำบลภูเขาทอง นายหงลาสิกขาก่อนออกรบและแตกพ่ายไปเข้ากับพระยาตาก (สิน) เมื่อกู้อิสรภาพแล้วต่อมาได้รับพระราชทานเป็นพระยาเพชรพิชัยจนต่อสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ บุตรของพระยาเพชรพิชัยที่รับราชการต่อมาก็เป็นพระยาเพชรพิชัยสืบมา จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ภริยาพระยาเพชรพิชัยตามเสด็จมาที่วัดเกิดศรัทธาจึงบูรณะวัดขึ้น ในสมัยที่พระครูธรรมิกาจารคุณ (ฟัก) เป็นเจ้าอาวาส โดยบูรณะพระอุโบสถและพระวิหารใหม่และจะขอพระราชทานเป็นพระอารามหลวง แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีทรงสวรรคตก่อน มีสถานที่ตั้งเครื่องรับเสด็จและบ่อน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประมาณปี๒๔๘๔ พระอุโบสถเดิมพระประธานเป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิด ทอง ผนังด้านตะวันออกเขียนเป็นภาพพุทธประวัติโดยนายช่างแข ก่อนจะทรุดตัวลง หลังคาได้ทรุดลงมาก่อนทางวัดได้มุงสังกระสีไว้ ยังไม่ทันบูรณะผนังพระอุโบสถก็ทรุดพังลง ทางวัดเตรียมการจะบูรณะ แต่ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาซ่อมแทน เดิมเขตกฎีสงฆ์ที่เป็นเขตสังฆาวาสนั้นอยู่หลังพระอุโบสถติดกับศาลพระเจ้า ธรรมิกราช สมัยที่นายปรีดีพนมยงค์สร้างวัดพนมยงค์นั้น เริ่มทำการบูรณะพระวิหารมงคลบพิตรแล้วจะนำช่างชุดเดียวกันมาบูรณะ วัดธรรมิกราชต่อ แต่มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ต่อมาสมัยจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายก ฯ ได้มาสร้างกำแพงวัดปูพื้นพระวิหารพระนอนและกุฏิสงฆ์ ยังไม่แล้วเสร็จก็เกิดเหตุทางการเมืองขึ้นอีกจนกรมศิลปากรเข้ามาดำเนินการ ต่อ
เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์เป็นศิลปะสมัยอู่ทอง เดิมอยู่ในวิหารหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กล่าวว่าผู้ใดเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้าพระพักตร์คนผิดต้องตายหรือมีอัน เป็นไปทุกคนเป็นที่กล่าวขานกันมาก สมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ( อยุธยา ) จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษม ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไป
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
วิหารพระมงคลบพิตร
สันนิษฐาน กันว่า สร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยา ตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทองว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก
สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก
ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑล อยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติกับพวก ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ
ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ ในคราวบูรณะพระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรุปบรรจุไว้ในพระพาหา (แขน) เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
วัดพนัญเชิง
วัด พนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรี อยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง [ต้องการอ้างอิง] และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรี อยุธยา ถึง 26 ปี พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดในพระนครศรี อยุธยา หน้าตักกว้าง 14 เมตรเศษ สูง 19 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย
เคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุงศรี อยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2497 ได้โปรดเกล้าให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่รู้จักกันในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนว่า หลวงพ่อซำปอกง[ต้องการอ้างอิง] คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง / วัดพระแนงเชิง หรือ / วัดพระเจ้าพแนงเชิง จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต ( อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน )
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
Tuesday, October 26, 2010
วัดหน้าพระเมรุ
เนื่อง จากพม่าไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่นั่น จึงยังคงสภาพดีมากพระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ. 2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุ และวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัย อยุธยา ตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิดทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค อยู่บนราหู ล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึกเป็นกาพย์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือวิหารเขียนมีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอยู่
เหตุที่ ได้ชื่อว่าวัดหน้าพระเมรุนั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาหลังจากที่ได้ยิงปืนใหญ่ใส่วัดราชบูรณะจน เสียหายแล้ว ก็ได้พยายามยิงปืนใหญ่ใส่พระบรมมหาราชวัง โดยปกติ ปืนใหญ่โบราณหลังยิงไปแล้วลูกหนึ่งจะต้องหยุดพักสักครู่แล้วจึงยิงใหม่ แต่ด้วยความใจร้อนของพระองค์ พระองค์สั่งให้ยิงปืนใหญ่โดยไม่ต้องพัก ทำให้ปืนร้อนจัดจนระเบิดใส่พระองค์ ระหว่างเดินทางกลับ พระเจ้าอลองพญาทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง วัดหน้าพระเมรุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
ayutthaya อยุธยา
- จัดทำเว็บไซต์
- รับทำ SEO
- รับทำการตลาดออนไลน์
- พัฒนาและดูแลเว็บไซต์
- เช่าซับโดเมน yutya.net
- Software House
- Network & Security
- Joomla Master
- Ubuntu Linux Desktop
- SEO | SEM Course
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net