เนื่อง จากพม่าไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่นั่น จึงยังคงสภาพดีมากพระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ. 2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุ และวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัย อยุธยา ตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรงเครื่อง ปางมารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิดทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค อยู่บนราหู ล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึกเป็นกาพย์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือวิหารเขียนมีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอยู่
เหตุที่ ได้ชื่อว่าวัดหน้าพระเมรุนั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาหลังจากที่ได้ยิงปืนใหญ่ใส่วัดราชบูรณะจน เสียหายแล้ว ก็ได้พยายามยิงปืนใหญ่ใส่พระบรมมหาราชวัง โดยปกติ ปืนใหญ่โบราณหลังยิงไปแล้วลูกหนึ่งจะต้องหยุดพักสักครู่แล้วจึงยิงใหม่ แต่ด้วยความใจร้อนของพระองค์ พระองค์สั่งให้ยิงปืนใหญ่โดยไม่ต้องพัก ทำให้ปืนร้อนจัดจนระเบิดใส่พระองค์ ระหว่างเดินทางกลับ พระเจ้าอลองพญาทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง วัดหน้าพระเมรุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
No comments:
Post a Comment