ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่ง รวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรี อยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรี อยุธยา มีดังนี้
พระราชวงศ์เชียงราย
๑. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๑ คือพระเจ้าอู่ทอง เสวยราชย์ศักราช ๗๑๒(พ.ศ. ๑๘๙๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๓๑(พ.ศ. ๑๙๑๒)
๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๑(๑๙๑๒) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓)
พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชพระองค์ที่ ๑ พระเจ้าพฤฒิเดช นัยหนึ่งว่ามหาเดชก็เรียก (ขุนหลวงพงัว) เสวยราชย์ศักราช ๗๓๒(๑๙๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)
๔. สมเด็จพระเจ้าทองจันทร์ พระเจ้าทองลั่นก็เรียก เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๗ วัน สุดรัชกาลศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕)
พระราชวงศ์เชียงราย
๕. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๔(๑๙๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐)
๕. สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช (พระยาราม) เสวยราชย์ศักราช ๗๔๙(๑๙๓๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔)
พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๖. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๑ อีกพระนามเรียกพระมหานัครินทราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๗๖๓(๑๙๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑)
๗. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เสวยราชย์ศักราช ๗๘๐(๑๙๖๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗)
๘. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสวยราชย์ศักราช ๗๙๖(๑๙๗๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒)
๙. สมเด็จพระอินทราชา พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๑๑(๑๙๙๒) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓)
๑๐. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๒ เสวยราชย์ศักราช ๘๓๒(๒๐๑๓) อยู่ในราชสมบัติ ๔๐ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒)
๑๑. สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๑(๒๐๕๒) อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๗๕(๒๐๕๖)
๑๒. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร เสวยราชย์ศักราช ๘๗๔(๒๐๕๖) อยู่ในราชสมบัติ ๕ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗)
๑๓. สมเด็จพระชัยราชาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๘๗๖(๒๐๕๗) อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๐)
๑๔. สมเด็จพระยอดฟ้า เสวยราชย์ศักราช ๘๘๙(๒๐๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปีครึ่ง สุดรัชกาลศักราช ๘๙๑(๒๐๗๒)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๘๙๐(๒๐๗๑) อยู่ในราชสมบัติ ๒๔ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๑) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๔(๒๐๙๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗)
๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๖(๒๐๙๗) อยู่ในราชสมบัติ๑ ปี สุกรัชกาลศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘)
๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช(ครั้งที่ ๒) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๗(๒๐๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีหย่อน สุดรัชกาลศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙)
พระราชวงศ์สุโขทัย
๑๗. สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๙๑๘(๒๐๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑)
๑๘. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๔๐(๒๑๒๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕)
๑๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระเอกาทศรฐมหาราช เสวยราชย์ศักราช ๙๕๔(๒๑๓๕) อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี สุดรัชกาลศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔)
๒๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๔ (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๓(๒๑๔๔) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕)
พระราชวงศ์ทรงธรรม
๒๑. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๑ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม อย่างหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าทรงธรรม (พระพิมลธรรม) เสวยราชย์ศักราช ๙๖๔(๒๑๔๕) อยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐)
๒๒. สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๒ คือพระเชษฐาธิราช เสวยราชย์ศักราช ๙๘๙(๒๑๗๐) อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี ๗ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒)
๒๓. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เสวยราชย์ศักราช ๙๙๑(๒๑๗๒) อยู่ในราชสมบัติ ๖ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓)
พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๔. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๕ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า สมเด็จพระรามาธิเบศร์ คือพระเจ้าปราสาททอง เสวยราชย์ศักราช ๙๙๒(๒๑๗๓) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘)
๒๕. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๗(๒๑๙๘) อยู่ในราชสมบัติ ๙ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๖. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒ เดือน สุดรัชกาลศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙)
๒๗. สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระนารายณ์มหาเอกาทศรฐราช เสวยราชย์ศักราช ๑๐๑๘(๒๑๙๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕)
พระราชวงศ์บ้านพูลหลวง (แซก)
๒๘. สมเด็จพระมหาบุรุษ อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระธาดาธิเบศร์ (พระเพทราชา) เสวยราชย์ศักราช ๑๐๔๔(๒๒๒๕) อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๐๕๙(๒๒๔๐)
พระราชวงศ์ปราสาททอง
๒๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๘ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระสุริเยนทราธิบดี คือพระพุทธเจ้าเสือ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๕๙(๒)(๒๒๔๐) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙)
๓๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ พระองค์ที่ ๙ สมเด็จพระภูมินทราชา หรือขุนหลวงทรงเบ็ดก็เรียก คือพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๖๘(๒๒๔๙) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๐๙๔(๒๒๗๕)
๓๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ เมื่อสวรรคตแล้ว เรียกพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราชย์ศักราช ๑๐๙๕(๒๒๗๖) อยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปีเศษ สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๒. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๔ อีกพระนามหนึ่งเรียกพระมหาอุทุมพร มหาพรวินิจ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิจ เมื่อทรงผนวชเรียกกันว่า ขุนหลวงหาวัด เสวยราชย์ศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๑๐ วัน สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๐(๒๓๐๑)
๓๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์ที่ ๓ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี อีกพระนามหนึ่งเรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
เสวยราชย์ศักราชย์ ๑๑๒๐(๒๓๐๑) อยู่ในราชสมบัติ ๙ ปี สุดรัชกาลศักราช ๑๑๒๙ (๒๓๑๐)(วัน ๓ฯ๙๕ ค่ำ ปีกุน)
แผนผังเว็บไซต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : บล็อก ayutthaya - อยุธยา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า yutya by yutya.net
No comments:
Post a Comment